Friends of Thai Workers Association

Friends of Thai Workers Association Supported By Office of Thai Labour Affairs in Singapore

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ชีวิตลำเค็ญของสาวเหนือในสิงคโปร์


โดย ศุภลักษณ์ บัลเซอร์


เจออาจารย์พัฒนาเมื่อหลายเดือนก่อน อาจารย์พูดเกริ่นว่าอยากจะได้เรื่องราวประสบการณ์ชีวิตของ

ตนเองในสิงคโปร์ มานั่งคิดว่า...เออ เรื่องราวชีวิตของเราคงไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น แต่ด้วยที่ว่ามาอยู่ในประเทศเล็กๆนี้ได้ 20 กว่าปี ได้พบปะคนไทยที่ก็มากอยู่ จึงบอกอาจารย์พัฒนาว่า พี่ขอเขียนเรื่องราวชีวิตของคนอื่นเถอะแต่ขอเริ่มเรื่องจากประวัติผู้เขียนหน่อยนะคะ ดิฉันนางศุภลักษณ์ บัลเซอร์ หลังจากเรียนจบครูที่บ้านเราก็เข้ามาเรียนภาษาอังกฤษเมื่อ 18 ปีที่แล้ว ตั้งใจว่าจะกลับไปเป็นแม่พิมพ์ที่บ้านเรา แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้กลับเลยคะ อยากนำเรื่องราวชีวิตของผู้หญิงไทยคนหนึ่งที่ได้มาแต่งงานกับหนุ่มเมืองสิงห์โตทะเลแห่งนี้ เธอมีความหวังเหมือนผู้หญิงทุกคนว่าจะมีชีวิตครอบที่ดีในประเทศที่รํ่ารวยแห่งนี้ แต่...ในความเป็นจริง เธอผู้นี้ต้องผ่านพบอะไรบ้าง ดิฉันหวังว่าเรื่องราวชีวิตของ เธอคงเป็นอุทาหรณ์แก่ผู้หญิงไทยที่หวังจะมาขุดทองที่สิงคโปร์บ้างไม่มากก็น้อย

ผู้เขียนได้พบและรู้จักกับพิมพ์ที่วัดไทยคะ พิมพ์เป็นหญิงสาวจากเมืองเหนือ เธอไม่ได้เรียนหนังสือ เธออ่านหนังสือไม่ออก เธอถูกส่งมาทำงานที่อำเภอหาดใหญ่จนได้แต่งงานกับหนุ่มสิงคโปร์ หลังจากแต่งงานแล้วก็เข้ามาอยู่ในบ้านเมืองของสามีเธอแล้ว ชีวิตของเธอช่วงนี้ก็มีความสุขตามประสาข้าวใหม่ปลามัน พิมพ์ได้ตั้ง
ท้องลูกคนแรกในปีต่อมา ชีวิตของเธอเริ่มเปลี่ยนไป เมื่อสามีเริ่มไม่ทำงานและพิมพ์ได้ตั้งท้องลูกชาย
คนที่สอง พิมพ์เล่าว่าช่วงนี้ชีวิตของเธอลำบากมาก ไหนจะต้องดูแลลูกชายสองคน ไหนจะต้องออกไป
ทำงานเป็นคนเสิร์ฟกาแฟที่ฟู๊ดคอร์ท โดยเอาลูกๆไปฝากแม่สามีเลี้ยง บ่ายๆหลังเลิกงานเธอก็จะไปรับลูกมาดูแลและทำอาหารให้ลูกและสามี ซึ่งเอาแต่นอนดูทีวีทั้งวัน หรือไม่ก็ออกไปข้างนอกทั้งวัน ยิ่งร้ายไปกว่านั้นสามีของเธอได้บังคับให้เธอนอนกับผู้ชายอื่นเพื่อแลกกับเงินเอามาใช้จ่าย เธอเล่าว่าเธอต้องทนเพื่อลูกสองคน

เหมือนโชคชะตาเล่นตลกพิมพ์ท้องคนที่สาม โดยที่ท้องครั้งนี้เธอบอกว่าไม่รู้ใครเป็นพ่อ แต่เธอไม่เคยที่คิดจะทำแท้ง เธอเล่าให้ผู้เขียนฟังทั้งนํ้าตาว่าตอนที่เธอท้องอ่อนๆ สามีของเธอก็ยังหาผู้ชายให้มานอนกับเธออยู่ ผู้เขียนถามเธอว่าตอนนั้นทำไมไม่คิดจะกลับบ้านละ เธอบอกว่าถ้ากลับไปก็เอาลูกไปด้วยไม่ได้และอีกอย่างหนึ่งเธอไม่มีความรู้ไม่ได้เรียนหนังสือ เธออ่านก็หนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้
พอพิมพ์คลอดลูกคนที่สาม เธอได้ยกลูกคนนี้ให้คนฮ่องกงไป พิมพ์บอกว่าเธอแทบจะขาดใจที่ต้องยกลูกให้คนอื่นไป หลังจากคลอดลูกคนที่สามได้ไม่นานเธอก็ออกหางานทำ ตอนนี้เธอทำงานในบาร์แห่งหนึ่งเลี้ยงลูกและสามีมาตลอด จนกระทั่งพิมพ์ได้ตั้งท้องลูกคนที่สี่อีก ตอนนี้เธอพอจะมีเงินจ้างคนมาดูแลลูกของเธอแล้ว กลางวันเธอไปทำงานเป็นกรรมกรแบกปูน พอตกตอนเย็นเธอไปทำงานที่บาร์เป็นอย่างนี้มาหลายปีจนกระทั่งลูกๆของเธอโตพอที่จะช่วยพิมพ์ทำงานได้ ลูกชายคนโตและคนที่สองจะรักแม่มาก ผู้เขียนเคยเจอลูกชายคนโตและคนที่สองของพิมพ์เมื่อปี 2541 เพราะว่า ผู้เขียนได้จ้างเด็กๆ มาทาสีที่บ้านของผู้เขียนเอง ตอนนั้นพวกเขาอายุราวๆ 20 ปี และ 19 ปี เด็กหนุ่มทั้งสองบอกกับผู้เขียนว่าพวกเขาเกลียดพ่อเขามาก ลูกๆ อยากให้แม่เลิกกับพ่อเขามาก ผู้เขียนเคยถามเขาว่าทำไมไม่เลิกกับผู้ชายคนนี้เสียในเมื่อเขาเป็นอย่างนี้ พิมพ์ไม่ตอบคะก็เลยได้แต่โมโหและสงสาร ลูกทั้งสามคนของเธอเรียนหนังสือแค่ชั้นประถมก็ออกมาทำงานแล้ว
ในปี
2547 ผู้เขียนได้รับโทรศัพท์จากพิมพ์ว่า ลูกชายคนโตกำลังจะแต่งงานและได้เชิญผู้เขียนไปงานแต่งของลูกชาย เธอเล่าให้ฟังว่า ตอนนี้ลูกชายคนโตได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับส่งผัก คือไปรับผักที่มาเลเซียมาส่งแม่ค้าที่ตลาด พิมพ์เล่าว่า เธอและสามีได้ไปเลือกเจ้าสาว ซึ่งเป็นชาวเวียดนามมาเป็นเจ้าสาวให้ลูกชายคนโต แต่งงานได้ไม่นานผู้เขียนได้ข่าวว่าหย่ากันแล้ว เพราะว่าลูกสะไภ้กับพ่อผัวได้เสียกัน ตอนนี้ลูกชายคนเล็กของเธอติกคุกคดีลักทัรพย์ ผู้เขียนไม่รู้ว่าตัดสินกี่ปี ส่วนลูกชายอีกสองคนได้ย้ายออกจากบ้านไปอยู่ตามลำพัง ปัจจุบันนี้พิมพ์ขายของอยู่ในโรงเรียนแห่งหนึ่งได้ค่าแรงวันละ 50 เหรียญเลี้ยงตัวเองและสามีของเธอ
นี่คือชีวิตจริงของผู้หญิงไทยคนหนึ่ง ซึ่งหนีความยากจนที่บ้านมา หวังไว้ในใจว่าจะได้มาพบกับชีวิตที่
สุขสบาย แต่มันไม่ได้เป็นดั่งที่เธอคาดหวังไว้เสมอไป การใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดนใช่ว่าจะสุขสบายอย่างที่คนทางบ้านที่เมืองไทยหลายคนคิด สังคมที่นี้ต้องช่วยเหลือตัวเองทุกอย่าง ต้องต่อสู้อดทนสารพัด เวลามีทุกข์มีปัญหาบางทีก็
ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร คนที่บ้านเราเมื่อเห็นคนที่ทำงานในต่างประเทศกลับไปเยี่ยมบ้านเห็นเขามีเงินใช้จ่าย มีเสื้อผ้าใส่สวยๆ มีเงินปลูกบ้านหลังโตๆ นั้น บางทีพวกเขาก็ได้มาด้วยความยากลำบาก...ชีวิตในเมืองนอกไม่
ได้สุขสบายเสมอไปคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น